กรณีศึกษาผู้ป่วยกับการรักษาด้วยธาราบำบัด (1)
หัวข้อกรณีศึกษานี้ ได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยและญาติในการเผยแพร่และแบ่งปันประสบการณ์การรักษา และขออนุญาตใช้คำแทนผู้ป่วยว่าคุณลุง
รูปแบบการนำเสนอกรณีศึกษาจะไม่ได้มีรูปแบบเป็นทางการ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกท่านได้อารมณ์เหมือนอ่านไดอารี่เพลินๆ และอาจมีการสอดแทรกความรู้บ้างนะครับ
รูปภาพแสดงการออกกำลังกายเพื่อฝึกการทรงตัว โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพฯ
เคสผู้ป่วยชายไทย อายุ 63 ปี อาชีพข้าราชการเกษียณ มีประวัติดื่มสุรามานานกว่า 30 ปี และดื่มเป็นประจำเกือบทุกวัน แต่ปัจจุบันเลิกดื่มสุรามาได้ประมาณ 3 เดือน อาการสำคัญเริ่มแรกเมื่อพบนักกายภาพบำบัดคือ คุณลุงเดินค่อนข้างช้า และเดินเซ ไม่สามารถพูดประติดประต่อเรื่องราวเป็นประโยคได้ พูดโต้ตอบได้แต่เป็นคำๆ
- โรคประจำตัวของคุณลุง มีทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน และยังมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (ปัจจุบันใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องแบบตั้งค่าคงที่หรือเครื่อง CPAP ในการรักษา)
- การซักประวัติเพิ่มเติมจากญาติได้ความว่า คุณลุงเคยมีประวัติหลงลืมถึงขั้นจำทางกลับบ้านไม่ได้ มีความรู้สึกว่าเบลออยู่ตลอดเวลา และในบางครั้งจะมีอาการหงุดหงิดฉุนเฉียวกับเรื่องเล็กๆได้ง่าย
- ซักประวัติถึงการตรวจร่างกายและการรักษาจากแพทย์ ญาติเล่าให้ฟังว่า สมองส่วนหน้าซีกหนึ่งถูกทำลายและพบปัญหาบริเวณก้านสมองร่วมด้วยจากผลการตรวจสแกนสมอง (CT-brain) ส่วนการพูดคุยระหว่างแพทย์กับคุณลุง ปรากฎว่าโต้ตอบได้เพียงคำสั้นๆ ไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้ ด้านการทดสอบการทรงตัว พบว่าคุณลุงไม่สามารถเดินต่อเท้าเป็นเส้นตรง ไม่สามารถยืนขาเดียว หรือยืนหลับตาได้เลย นอกจากนี้แพทย์ได้ทำการทดสอบโดยให้ลองวาดนาฬิกา (Clock drawing test) ปรากฎว่าคุณลุงเขียนตัวเลขบนหน้าปัดนาฬิกาไว้ฝั่งเดียวกันหมด ซึ่งแสดงถึงความผิดปกติการทำงานของสมอง (สามารถอ่านเพิ่มเติมจากเอกสารแนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม ตามลิงค์นี้ได้เลยครับ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ (ฉบับสมบูรณ์ 2557)) ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้มีสาเหตุมาจากการดื่มสุราติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน หลังการตรวจร่างกายแพทย์ได้จ่ายเกี่ยวกับสมอง และให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือเลิกดื่มสุรา และให้ออกกำลังกาย
รูปภาพแสดงการทดสอบ Clock drawing test
เสริมความรู้
ภาวะความจำเสื่อม มักเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้จากความเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติ ทั้งนี้ความเสื่อมสามารถขึ้นอยู่กับปัจจัยเพิ่มเติมที่แต่ละคนได้รับ เช่น พันธุกรรม ภาวะเครียด ภาวะน้ำหนักตัวเกิน การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง อุบัติเหตุที่ศีรษะ การได้รับสารเคมีที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง อาทิ สารเสพติด แอลกอฮอล์จากการดื่มสุรา สารพิษในบุหรี่ สารตะกั่ว เป็นต้น
ปัจจุบันมีแบบคัดกรองหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบทดสอบ TMSE แบบทดสอบ MMSE-Thai 2002 แบบทดสอบ The 7 minutes test แบบทดสอบ Montreal Cognitive Assessment (MOCA)
ช่วงเข้ารับการรักษาที่ศูนย์ธาราบำบัดเพื่อสุขภาพ เทศบาลเมืองบ้านบึง
ปัญหาที่สำคัญที่สุดของคุณลุง นั่นคือ ปัญหาการทรงตัวทั้งขณะอยู่นิ่งและเคลื่อนไหวในท่ายืน โดยการรักษาขอสรุปคร่าวๆ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ระยะเรียนรู้ ปรับตัว และทำความเข้าใจรูปแบบการออกกำลังกายในน้ำ
- เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงคิดว่าการรักษาด้วยธาราบำบัด คือการว่ายน้ำเหมือนในสระว่ายน้ำ หรือการมาเล่นน้ำ หรืออื่นๆ ซึ่งตามจริงก็มีส่วนที่ถูกต้อง เพราะการว่ายน้ำถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการออกกำลังกาย หรือแม้แต่การเล่นน้ำโดยการจัดเป็นกิจกรรมนันทนาการเพื่อฝึกทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกายผ่านรูปแบบเกมก็เป็นส่วนที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาของสมรรถภาพด้านร่างกาย แต่สิ่งที่เป็นจุดเด่นและทำให้รูปแบบการรักษาด้วยธาราบำบัดมีความแตกต่างจากการเล่นน้ำธรรมดา นั่นคือ การนำคุณสมบัติของน้ำและหลักการทางกลศาสตร์ของไหลมาประยุกต์เข้ากับความรู้ทางกายภาพบำบัด เพราะจะทำให้รูปแบบการออกกำลังกายมีความจำเพาะกับกลุ่มกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และจะส่งให้สามารถพัฒนาไปได้ถึงเป้าหมายการเคลื่อนไหวที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ หรือกล่าวสั้นๆ คือ สามารถแก้ไขปัญหาของร่างกายได้ตรงจุดมากขึ้นนั่นเอง
- กรณีของคุณลุง ในระยะแรกประมาณ 1 สัปดาห์ รูปแบบการรักษาจะเน้นให้คุณลุงเรียนรู้คุณสมบัติของน้ำก่อน เช่น ลองให้ปล่อยแขนลอยขึ้นระดับผิวน้ำ หรือให้ผู้ป่วยกระโดดในน้ำ เพื่อเรียนรู้แรงลอยตัวของน้ำ ลองให้คุณลุงอยู่บริเวณน้ำที่ระดับอกแล้วลองฝึกหายใจ เพื่อเรียนรู้แรงดันอุทกสถิต หรือลองให้คุณลุงเคลื่อนไหวแขนเปรียบเทียบระหว่างช้ากับเร็ว เพื่อเรียนรู้ความหนืดของน้ำ และฝึกให้รู้ถึงหลักการของคานสั้น-ยาว เพื่อปรับความยากของการออกกำลังกาย รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์ออกกำลังกายต่างๆ เป็นต้น โดยค่อยๆ เรียนรู้และย้ำเรื่อยๆ จนเริ่มชิน
- ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะกลัวจมน้ำ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่มีประสบการณ์ลงสระว่ายน้ำมาก่อน กรณีแบบนี้นักกายภาพบำบัดจะค่อยๆ ปรับสภาพจิตใจให้คุ้นเคยกับน้ำควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างง่าย จนผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจ จึงเริ่มพัฒนาการฝึกและลดการช่วยเหลือลงตามความสามารถของผู้ป่วย
- กรณีผู้ป่วยกลุ่มระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยพาร์กินสัน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะมีการแนะนำให้ญาติหรือผู้ดูแลเรียนรู้โปรแกรมการออกกำลังกายร่วมไปกับผู้ป่วย เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระหว่างการฝึก รวมถึงลดข้อจำกัดด้านบุคลากรที่อาจให้บริการไม่ทั่วถึง
- ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะกลัวจมน้ำ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่มีประสบการณ์ลงสระว่ายน้ำมาก่อน กรณีแบบนี้นักกายภาพบำบัดจะค่อยๆ ปรับสภาพจิตใจให้คุ้นเคยกับน้ำควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างง่าย จนผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจ จึงเริ่มพัฒนาการฝึกและลดการช่วยเหลือลงตามความสามารถของผู้ป่วย
- กรณีผู้ป่วยกลุ่มระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยพาร์กินสัน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะมีการแนะนำให้ญาติหรือผู้ดูแลเรียนรู้โปรแกรมการออกกำลังกายร่วมไปกับผู้ป่วย เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระหว่างการฝึก รวมถึงลดข้อจำกัดด้านบุคลากรที่อาจให้บริการไม่ทั่วถึง
ระยะที่ 2 ระยะฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายที่จำเพาะต่อความผิดปกติของร่างกาย
- ในระยะนี้คุณลุงจะเริ่มได้ฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่มีความเกี่ยวข้องกับการทรงตัว เช่น กล้ามเนื้อลำตัว กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อก้น กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า-หลัง กล้ามเนื้อน่อง เป็นต้น โดยหลังการฝึกกลุ่มกล้ามเนื้อแต่ละมัดแล้วจะมีการฝึกทรงตัวในรูปแบบต่างๆ เช่น การฝึกทรงตัวโดยการเดินต่อเท้าในน้ำทั้งด้านหน้าและถอยหลัง การเดินเขย่งปลายเท้าพร้อมยกแขนมือประสานกันเหนือศีรษะ การฝึกเอื้อมในแนวระนาบการเคลื่อนไหวต่างๆ การฝึกยืนนิ่งขาชิดและหลับตาพร้อมกับการผลักน้ำใส่ตัวผู้ป่วยทุกทิศทาง หรือการเล่นเกมโยนลูกบอลให้ลงตะกร้าขณะยืนขาเดียว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดโปรแกรมการฝึกรูปแบบแอโรบิคเพื่อควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รวมถึงเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง เพราะมีหลายงานวิจัยกล่าวถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทสมองเพิ่มขึ้นได้ ในส่วนของโปรแกรมการฝึกต่างๆ นักกายภาพบำบัดจะปรับโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายในปัจจุบันของผู้ป่วย
- เมื่อฝึกไปประมาณ 2 เดือน คุณลุงเริ่มมั่นใจในการทรงตัวเพิ่มมากขึ้น จึงเริ่มให้ฝึกการทรงตัวบนบกอย่างง่ายร่วมด้วย โดยให้ฝึกใกล้กับโต๊ะหรือเก้าอี้ที่มั่นคงเพื่อป้องกันการล้ม
- ในช่วงนี้ผู้ป่วยมีการควบคุมอาหาร และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดร่วมด้วย
- ในระยะนี้คุณลุงจะเริ่มได้ฝึกออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่มีความเกี่ยวข้องกับการทรงตัว เช่น กล้ามเนื้อลำตัว กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อก้น กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า-หลัง กล้ามเนื้อน่อง เป็นต้น โดยหลังการฝึกกลุ่มกล้ามเนื้อแต่ละมัดแล้วจะมีการฝึกทรงตัวในรูปแบบต่างๆ เช่น การฝึกทรงตัวโดยการเดินต่อเท้าในน้ำทั้งด้านหน้าและถอยหลัง การเดินเขย่งปลายเท้าพร้อมยกแขนมือประสานกันเหนือศีรษะ การฝึกเอื้อมในแนวระนาบการเคลื่อนไหวต่างๆ การฝึกยืนนิ่งขาชิดและหลับตาพร้อมกับการผลักน้ำใส่ตัวผู้ป่วยทุกทิศทาง หรือการเล่นเกมโยนลูกบอลให้ลงตะกร้าขณะยืนขาเดียว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดโปรแกรมการฝึกรูปแบบแอโรบิคเพื่อควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รวมถึงเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง เพราะมีหลายงานวิจัยกล่าวถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่สามารถช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทสมองเพิ่มขึ้นได้ ในส่วนของโปรแกรมการฝึกต่างๆ นักกายภาพบำบัดจะปรับโปรแกรมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายในปัจจุบันของผู้ป่วย
- เมื่อฝึกไปประมาณ 2 เดือน คุณลุงเริ่มมั่นใจในการทรงตัวเพิ่มมากขึ้น จึงเริ่มให้ฝึกการทรงตัวบนบกอย่างง่ายร่วมด้วย โดยให้ฝึกใกล้กับโต๊ะหรือเก้าอี้ที่มั่นคงเพื่อป้องกันการล้ม
- ในช่วงนี้ผู้ป่วยมีการควบคุมอาหาร และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดร่วมด้วย
ผลลัพธ์ที่ได้หลัง 3 เดือน คือ สภาพจิตใจของผู้ป่วยแจ่มใสขึ้น เริ่มสนทนาเป็นประเด็นได้มากขึ้น น้ำหนักและรอบเอวลดลง (น้ำหนักลดลงจาก 78 เหลือ 73 กิโลกรัม และรอบเอวลดลงจาก 43 นิ้ว เหลือ 40 นิ้ว) สามารถเดินจากบ้านมาถึงศูนย์ธาราบำบัดระยะทางประมาณ 500 เมตรได้อย่างมั่นใจ ผลการทดสอบการทรงตัว เช่น ก้มเก็บของจากท่ายืน ยืนบนขาข้างเดียว เดินต่อเท้า ยืนสองขาหลับตา และอื่นๆ สามารถทำได้ดีขึ้น และเมื่อกลับไปตรวจกับแพทย์เจ้าของไข้ พบว่าอาการต่างๆ ดีขึ้นค่อนข้างชัดเจน จนเป็นที่น่าพอใจ
ระยะที่ 3 ระยะส่งเสริมสุขภาพ
รูปภาพแสดงการฝึกเดินต่อเท้าทางไปด้านหน้าและหลังในช่องวิถีธารน้ำ
(ถ้าท่านใดนึกภาพเดินต่อเท้าไม่ออก ให้ดูรูปด้านล่างครับ)
รูปภาพแสดงการเดินต่อเท้า
รูปภาพแสดงการฝึกการทรงตัวโดยชูแขนให้โฟมเส้นอยู่ในแนวตรง ยืนขาข้างเดียวและหลับตา
รูปภาพแสดงการฝึกการทรงตัวโดยเตะขาไปทางด้านหลัง ลำตัวโน้มมาทางด้านหน้า มือจับโฟมเส้นและหลับตา
รูปภาพแสดงการฝึกการทรงตัวโดยชูแขน ยืนขาข้างเดียวและหลับตา
รูปภาพแสดงกิจกรรมการฝึกเลี้ยงน้ำใส่ขวด เพื่อฝึกการทรงตัว
รูปภาพแสดงกิจกรรมการฝึกเลี้ยงลูกบอล เพื่อฝึกการทรงตัว
ระยะที่ 3 ระยะส่งเสริมสุขภาพ
- ระยะนี้จะส่งเสริมให้คุณลุงสร้างเสริมสภาพร่างกายที่ยังขาดตามวัตถุประสงค์ที่คุณลุงต้องการและนักกายภาพบำบัดเห็นว่าจำเป็นและสามารถทำได้ โดยทำควบคู่กับโปรแกรมการฝึกระยะที่ 2 อย่างกรณีของคุณลุงต้องการเน้นที่การควบคุมน้ำหนักเพิ่มเติม นักกายภาพบำบัดจึงจัดโปรแกรมรูปแบบ HIIT (High Intensity Interval Training) ให้
- นอกจากนี้ยังมีการเสริมโปรแกรมการออกกำลังกายกล้ามเนื้อบริเวณขา ข้อเท้าและฝ่าเท้า ให้คุณลุงกลับไปทำที่บ้านเป็นประจำด้วย
ผลลัพธ์ที่ได้ในปัจจุบัน (10 เดือนของการเข้ารับการรักษา) ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจยิ้มแย้ม แจ่มใส แต่ยังมีอาการหงุดหงิดง่ายในบางครั้งอยู่บ้าง สามารถเข้าใจเรื่องราวในการสื่อสารและสนทนาโต้ตอบเป็นประโยคได้ การทรงตัวดีในระดับคงที่ ภาวะความดันโลหิตสูงลดลงอยู่ในระดับปกติ (แพทย์ให้งดรับประทานยาความดันโลหิตสูง) ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักลดลงเหลือ 70-71 กิโลกรัม
จากกรณีศึกษาของคุณลุงเป็นสิ่งที่น่าดีใจเป็นอย่างมาก และเป็นเคสที่สะท้อนให้เห็นถึงการบูรณาการรูปแบบการรักษาที่ผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์ช่วยกันดูแลสุขภาพ เพราะสุขภาพที่ดีเริ่มที่ตัวคุณเอง ถ้าไม่รักตัวเอง ต่อให้จะได้ยาวิเศษหรือบุคลากรทางการแพทย์เก่งแค่ไหน ก็ไม่เกิดประโยชน์นะครับ
คุยกันท้ายบทความ
- นอกจากนี้ยังมีการเสริมโปรแกรมการออกกำลังกายกล้ามเนื้อบริเวณขา ข้อเท้าและฝ่าเท้า ให้คุณลุงกลับไปทำที่บ้านเป็นประจำด้วย
ผลลัพธ์ที่ได้ในปัจจุบัน (10 เดือนของการเข้ารับการรักษา) ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจยิ้มแย้ม แจ่มใส แต่ยังมีอาการหงุดหงิดง่ายในบางครั้งอยู่บ้าง สามารถเข้าใจเรื่องราวในการสื่อสารและสนทนาโต้ตอบเป็นประโยคได้ การทรงตัวดีในระดับคงที่ ภาวะความดันโลหิตสูงลดลงอยู่ในระดับปกติ (แพทย์ให้งดรับประทานยาความดันโลหิตสูง) ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักลดลงเหลือ 70-71 กิโลกรัม
จากกรณีศึกษาของคุณลุงเป็นสิ่งที่น่าดีใจเป็นอย่างมาก และเป็นเคสที่สะท้อนให้เห็นถึงการบูรณาการรูปแบบการรักษาที่ผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์ช่วยกันดูแลสุขภาพ เพราะสุขภาพที่ดีเริ่มที่ตัวคุณเอง ถ้าไม่รักตัวเอง ต่อให้จะได้ยาวิเศษหรือบุคลากรทางการแพทย์เก่งแค่ไหน ก็ไม่เกิดประโยชน์นะครับ
คุยกันท้ายบทความ
จบไปแล้วนะครับสำหรับกรณีศึกษาที่ 1 นี่เป็นเพียงตัวอย่างเคสส่วนเดียวเท่านั้น ถ้าท่านใดมีคำถามหรือข้อสงสัยสามารถคอมเมนต์ได้เลยครับ และขอฝากติดตามบทความต่อๆ ไปของผมด้วยนะครับ วันนี้จากกันด้วยภาพความสนุกสนานของกิจกรรมเกมหัวข้อการออกกำลังกายเพิ่มการทรงตัวในผู้สูงอายุ โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพฯ ปี 2561 ครับ บ๊าย บาย
ปล. รูปในกรณีศึกษาค่อนข้างน้อยหน่อยนะครับ แต่จะพยายามหารูปที่สอดคล้องมาประกอบเพราะไม่ค่อยมีเวลาเก็บภาพก่อน-หลังการรักษาเลยครับ มีนักกายภาพบำบัดอยู่คนเดียวงานก็จะยุ่งๆ หน่อยอะครับ
ปล. รูปในกรณีศึกษาค่อนข้างน้อยหน่อยนะครับ แต่จะพยายามหารูปที่สอดคล้องมาประกอบเพราะไม่ค่อยมีเวลาเก็บภาพก่อน-หลังการรักษาเลยครับ มีนักกายภาพบำบัดอยู่คนเดียวงานก็จะยุ่งๆ หน่อยอะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น